Architectural Programming : Assignment # 1 บทนำ

AART DORMITORY 

หอศิลป์

รายละเอียดโครงการ

ปัญหาและความเป็นมาของข้อเสนอโครงการ 

เนื่องจากที่ตั้งของโครงการนี้อยู่ใกล้กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังและสถานศึกษาจำนวนมาก  ซึ่งมีนักศึกษาจำนวนมาก และจากการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของที่ตั้งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ทำให้ที่ตั้งนี้มีความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการประเภท Shopping arcade, ท่ารถและท่าเรือ, หอพักหรือโรงแรม

จากการวิเคราะห์ข้อมูล หอพักมีความเป็นไปได้มากที่สุดในการจัดทำเป็นโครงการ เนื่องจากมีจำนวนนักศึกษาและนักเรียนจำนวนมาก และจำนวนหอพักมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาและนักเรียน

นอกจากนี้จากการสำรวจปัญหาภายในหอพักบริเวณโดยรอบสถาบัน ฯ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจากนักเรียนและนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบซึ่งมีจำนวนมาก ทั้งจากภายในคณะสถาปัตยกรรมซึ่งมีถึง  5 ภาค นักศึกษาคณะครุศาสตร์ และนักเรียนจากวิทยาลัยช่างศิลป์ เนื่องจากนักเรียนนักศึกษาเหล่านี้ต้องการพื้นที่ในการทำงาน จึงทำให้ต้องไปเบียดเบียนพื้นที่ส่วนกลางของทางหอพัก ทำให้เกิดความไม่พอใจจากนักศึกษาคณะอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรมีที่พักอาศัยสำหรับนักเรียนและนักศึกษาทางด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อจะไม่ทำให้เกิดปัญหาระหว่างหอพักกับตัวนักศึกษา และนักศึกษากับนักศึกษาเองภายในหอพัก ซึ่งต้องเป็นหอพักที่มีพื้นที่เพียงพอและตอบรับกับฟังก์ชันสำหรับการทำงานของนักเรียนนักศึกษาเหล่านี้

ลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของที่ตั้งโครงการ 

ติดกับสถานศึกษาหลายแห่ง

  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
  2. วิทยาลัยช่างศิลป์
  3. โรงเรียนพรตพิทยพยัต
  4. วิทยาลัยกรุงเทพ – สุวรรณภูมิ

ด้านทิศใต้ของที่ตั้งโครงการติดถนนลาดกระบัง

ด้านทิศเหนือของที่ตั้งโครงการติดคลองประเวศบุรีรมย์

ด้านทิศตะวันตกของที่ตั้งโครงการติดหอพัก FBT

ด้านทิศตะวันออกของที่ตั้งโครงการติดชุมชน(ซอยทิพย์วารี)

ทางการตลาด

ในบริเวณโดยรอบที่ตั้งโครงการมีหอพักจำนวนมากซึ่งเป็นคู่แข่งทางการตลาดของโครงการ แต่เนื่องจากโครงการนี้จะมีฟังก์ชันที่แตกต่างจากหอพักทั่วไป และสามารถรองรับความต้องการที่มีความเฉพาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาในด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ จึงมีผู้ใช้งานที่เฉพาะเจาะจง

สภาพสังคม

สภาพสังคมในบริเวณรอบข้างโครงการเป็นสังคมการศึกษา อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และชุมชนหัวตะเข้

นโยบาย

สร้างพื้นที่ที่ตอบรับความต้องการของนักเรียนและนักศึกษาในด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

การสำรวจปัญหา

สำรวจปัญหาภายในหอพักบริเวณโดยรอบสถาบันฯ ว่ามีปัญหาใดบ้าง เพื่อให้ตอบรับกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยเมื่อพบปัญหา ซึ่งก็คือไม่มีพื้นที่ที่รองรับความต้องการของนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบและก่อให้เกิดปัญหากกับผู้อยู่อาศัยที่อาศัยร่วมกันและปัญหากับทางหอพัก

จากการสำรวจผู้พักอาสัยภายในหอพักบริเวณโดยรอบสถาบัน สามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้ 

สิ่งที่ผู้อยู่อาศัยคำนึงถึงมากที่สุดในการเลือกที่อยู่อาศัย คือ

1. ขนาดและลักษณะห้อง

2. บริการจากส่วนกลาง

3. สภาพแวดล้อมโดยรวม

4.ความปลอดภายในอาคาร   และ การคมนาคม

5.การตกแต่งภายในอาคาร

สรุปแบบสอบถามปัญหาและความต้องการของคนที่อยู่อาศัยในลาดกระบัง

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • การใช้พื้นที่บริเวณรอบ ๆ ตัวอาคารที่พัก ต้องการหรือ มีปัญหาใดที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
    • ทางเข้าเมื่อฝนตกมีน้ำท่วมบ่อยครั้ง
    • มีบริเวณที่มีต้นไม้และทำกิจกรรมภายนอกได้น้อย
    • บริเวณรอบๆ มีความสกปรก
    • ต้องการร้านค้าที่เปิดใน 24 ชั่วโมงใกล้กับหอพัก
    • ต้องการพื้นที่ออกกำลังกายภายในหอพัก
    • ต้องการพื้นที่แปลกใหม่กว่าหอพักอื่น ๆ
    • สำหรับบ้านเช่าต้องการความปลอดภัยจากบุคคลภายนอก เช่น ความปลอดภัยของทางเข้า
    • บ้านเช่าต้องการความเป็นส่วนตัว
    • ปัญหาของบ้านที่เช่ามีความทุดโทรมมาก  แต่จำเป็นต้องอยู่เนื่องจากบ้านเช่าอื่นๆ อยู่ไกลจากสถานศึกษา
    • ต้องการบ้านเช่าที่ง่ายต่อการเดินทางได้สะดวกสบายจากสถาบันศึกษา
  • การใช้พื้นที่ตัวอาคารต้องการหรือมีปัญหาใดที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย
    • มีบริเวณทางขึ้นอาคารน่ากลัว
    • ที่วางรองเท้าไม่เป็นระเบียงทำให้เกิดทัศนวิสัยไม่ดี และมลพิษทางอากาศ
    • นักเรียน นักศึกษาออกมาทำงานภายนอกห้องซึ่งเป็นบริเวณทางเดินภายในตัวอาคาร
  • การใช้พื้นที่ภายในห้องพักต้องการหรือมีปัญหาใดที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย
    • เมื่อปิดห้องยังมีเสียงจากห้องอื่นๆ ออกมารบกวน
    • ห้องที่อยู่อาคารข้างเคียงสามารถมองเข้ามาเห็นกิจกรรมส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย
    • ต้องการพื้นที่ในการปลูกต้นไม้
    • ประตูห้องมีขนาดเล็กไม่สามารถเอางานชิ้นใหญ่ออกมาได้ (นักศึกษา)
    • ห้องมีพื้นที่คับแคบ
    • ห้องไม่สามรถปรับเปลี่ยนที่วางเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะกับกิจกรรมที่ใช้ในห้องได้
    • ต้องการให้สามรถทำอะไรได้บริเวณผนังห้อง เช่น การติดรูปภาพ วาดภาพบนผนังห้อง

ด้านการบุคคลร่วมอาคาร

มีปัญหาอะไรที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ร่วมใช้อาคาร

  • มีการทำงานของนักเรียน นักศึกษาในเวลากลางคืน ทำให้เกิดเสียงดัง
  • การทำงานของนักเรียนนักศึกษาทำให้เกิดความสกปรกและมลพิษภายในตัวอาคาร
  • ในหอพักสตรีมีการนำบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปภายในตัวอาคาร
  • มีการทำกิจกรรมสังสรรค์ภายในหอพักไม่เกรงใจผู้อยู่อาศัย
  • ผู้ใช้อาคารส่งเสียงดังเวลาเดินขึ้นตัวอาคาร

ด้านสาธารณูปโภค

มีสาธารณูปโภคใดที่ต้องการเพิ่มเติมหรือ มีปัญหาที่เกิดขึ้น

  • ระบบอินเตอร์เน็ตไม่ได้มาตรฐาน
  • ค่าน้ำค่าไฟมีราคาสูง
  • ที่ทิ้งขยะ ทำให้เกิดมลพิษ
  • เมื่อเกิดฝนตก ระบบไฟฟ้าจะมีปัญหา

ด้านการคมนาคม

  1. ปัญหาและสิ่งที่ต้องการ เกี่ยวกับทางสัญจรและที่จอดรถ
  • ไม่มีที่จอดรดและไม่มีที่กลับรถ
  • ต้องการที่จอดรถจักรยานและจักรยานยนต์ ที่ปลอดภัยและมีหลังคา
  • ต้องการที่จอดรถไม่ไกลจากที่พักอาศัย

2. ปัญหาและสิ่งที่ต้องการ ที่เกี่ยวกับทางสัญจรทางคน

  • ทางเดินที่ป้องกันฝนตกหรือแดดร้อน
  • ต้องการทางเดินที่ปลอดภัย
  • ทางเดินที่มีบรรยากาศสวยงามและสะอาด

จากการสำรวจมีจำนวนของนักศึกษาและบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานที่ไม่มีที่พักอาศัยถาวรหรือภูมิลำเนาอยู่ในเขตลาดกระบังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ต้องอาศัยอยู่ในหอพัก หรือบ้านเช่า   นอกจากนี้มีนักศึกษาและนักเรียนที่เรียนเกี่ยวกับศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มีจำนวน มากกว่า 2,000 คน นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาเกี่ยวกับการออกแบบ และ นักเรียนของวิทยาลัยช่างศิลป ที่มีจำนวนนักเรียน 811 คน ซึ่งมีการใช้ชีวิตและ พฤติกรรม การทำงานต่างกับบุคคลที่เรียนหรือทำงานทั่วไป

สมมติฐาน

โครงการหอพักนี้สามารถตอบรับกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

กระบวนการดำเนินการ

  1. ลงพื้นที่บริเวณที่ตั้งโครงการ
  2. วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการว่าสามารถปลูกสร้างอาคารประเภทใดได้บ้าง
  3. วิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของ USER
  4. ออกแบบสอบถามและสำรวจข้อมูลอาคารตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการที่จะสร้าง
  5. ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง 100 คน
  6. สรุปข้อมูลที่ได้จากการสอบถามและจากการทำการสำรวจ เพื่อสรุปว่าจะสร้างเป็นโครงการประเภทใด
  7. นำแนวคิดที่ได้จากการสำรวจมาออกแบบโครงการ โดยคำนึงถึง USER, บริบทรอบข้าง และสภาพอากาศบริเวณโครงการ

แนวคิดในการดำเนินงาน

สร้างหอพักสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่มีฟังก์ชันและพื้นที่ที่เหมาะสมและตอบรับต่อผู้อยู่อาศัย

ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะพบในการดำเนินการ

–          ไม่ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ แบบสอบถาม

วิธีการแก้ไข

–          ทำแบบสอบถามให้มีความน่าสนใจ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

ข้อมูลโครงการ

ประเภทผู้ใช้อาคาร

ผู้ใช้บริการ

กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน นักศึกษา  ที่ศึกษาทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม  ที่ต้องการพื้นที่ในการใช้สอยเวลา ปฏิบัติงาน

กลุ่มเป้าหมายรอง
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เกี่ยวกับศิลปกรรรม หรือสถาปัตยกรรม  ที่ต้องการพื้นที่ในการการใช้สอยเวลา ปฏิบัติงาน

ผู้ให้บริการ
                        เจ้าของอาคาร
ผู้จัดการสำนักงาน
พนักงานธุรการ
พนักงานทำความสะอาพนักงานรักษาความปลอดภัย

องค์ประกอบของโครงการ

องค์ประกอบหลัก        ส่วนที่พักอาศัยประเภทหอพัก จำนวน
ส่วนที่พักอาศัยประเภท บ้านพักเดี่ยว จำนวน
ส่วนสำนักงาน
องค์ประกอบรอง                     ส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เช่น ลานอเนกประสงค์  ส่วนพักผ่อน สวน
องค์ประกอบเสริม       ส่วนแสดงงาน  ร้านอาหาร

แนวทางในการวางตัวอาคาร

 diagram ทางเลือกในการวางตัวอาคาร

diagram ทางเลือกในการจัดทางสัญจร

การวิเคราะห์การวางผัง

ทางเข้าอาคาร     

เนื่องด้วยติดทางขึ้นสะพาน ทำให้ต้องเลือกทางเข้าบริเวณที่ติดกับซอยทิพย์วารี

การวางอาคาร

ร้านอาหาร  ส่วนแสดงงาน

เพื่อสะดวกแก่ผู้ใช้สอย และผู้ให้บริการ

ส่วนพักอาศัย ประเภทหอพัก

กรณีที่ 1                 ข้อดี           ลมพัดผ่านทุกอาคาร ทำให้ถ่ายเทอากาศได้
มีพื้นที่ด้านหน้าอาคารเป็นส่วนตัวของอาคาร
ข้อเสีย       การวางตัวอาคารเกิดบริเวณจุดอับ   ที่อาจก่อให้เกิด
ปัญหา  ในการรักษาความปลอดภัย

กรณีที่ 2                 ข้อดี           การวางตัวอาคาร   ทำให้ไม่เกิดจุดอับ ลดปัญหาเรื่องการ
รักษาความปลอดภัย
เกิดพื้นที่การใช้สอย ส่วนกลาง ที่มีขนาดใหญ่ และสาม
สามารถปรับใช้ได้หลายกรณี­­
 ข้อเสีย            รับแสงแดด โดยตรง

ส่วนพักอาศัย   ประเภทบ้านพัก

วางแนวเดียวทั้งสอง กรณี  เพราะ  มีพื้นที่เป็นส่วนตัว ลมพัดผ่าน และมีวิวที่เหมาะสม

อาคารกรณีศึกษา

INTAWEESUB RESIDENCE
อินทวีทรัพย์เรสซิเดนซ์ รังสิต(คลอง6)
99/1-2 หมู่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
พื้นที่ของโครงการ  4 ไร่  มี 2 อาคาร
Deluxe room  ขนาดห้อง กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร สองชั้น

ข้อดี

–          แยกสัดส่วนของห้องอย่างชัดเจน ที่นอนอยู่ชั้นบน และส่วนทำงานและพักผ่อนอยู่ชั้นล่าง

–          ขนาดห้องกว้างเหมาะสำหรับการเก็บของและใช้ทำงานชิ้นใหญ่ได้

–          เฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อิน ไสตล์มินิมอล ทำให้เหลือพื้นที่ในการใช้งานมาก

–          ใช้พื้นที่คุ้มค่า เช่น โต๊ะคอมพิวเตอร์อยู่บริเวณใต้บันได

–          มีแนวคิดในการเพิ่มชั้นของห้องพักทำให้เป็นที่น่าสนใจและเป็นจุดดึงดูดให้ผู้สนใจเข้ามาพักอาศัย

–          มีสระว่ายน้ำรองรับผู้เข้าพักที่ต้องการออกกกำลังกาย

ข้อเสีย

-เฟอร์นอเจร์ built-in ไม่สามารถย้ายหรือเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันตามความต้องการของเราได้

-ไม่เหมาะสำหรับผู้พิการ คนชราและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ  เนื่องจากจะต้องเดินขึ้นบันไดเพื่อไปสู่ที่นอน

PANNAPAT PLACE ห้องพักรายวัน – รายเดือน หรู ทันสมัย ใจกลางเมือง พร้อมเฟอร์นิเจอร์ครบครัน แค่หิ้วกระเป๋าก็เข้าอยู่ได้เลย ตั้งอยู่บนทำเลที่การคมนาคมสะดวกสบาย เข้า- ออก ได้หลายทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
เตียง-ที่นอนสปริงอย่างดี หนา 10 นิ้ว -หมอน , ตู้เสื้อผ้า, โซฟา, โต๊ะ, โทรศัพท์, ชั้นวางของ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, ทีวีLCD 32” UBC , ตู้เย็น, อินเตอร์เน็ต, โต๊ะคอมพิวเตอร์ ,Free ที่จอดรถ 1 คัน, ระเบียงเปิดเข้า-ออกได้ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน , บรรยากาศร่มรื่น, มองเห็นวิวไกลสุดสายตา
-ราคาสำหรับห้องพักรายวัน : Promotion ราคา 700 บาท/คืน
-ราคาสำหรับห้องพักรายเดือน : ห้องสตูดิโอ 29-33 ตร.ม. เริ่มต้นที่ 6,500 บาท/เดือน
– ห้องสูท 60 ตร.ม. เริ่มต้นที่ 18,000 บาท/เดือน
หมายเหตุฯ : ราคาขึ้นอยู่กับขนาดห้องพัก

ภาพที่ 12  อาคารกรณีศึกษา 2

Standard type มีขนาดกว้าง 3.50 m กว้าง ยาว 4.50 m

ข้อดี

–  ห้องมีขนาดใหญ่ เหมาะทำงานที่ต้องใช้พื้นที่มากๆ

–   เหลือพื้นที่ว่างระหว่างเฟอร์นิเจอร์มาก

ข้อเสีย

–          เฟอร์นิเจอร์เป็นแบบ built-in ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันได้ตามความต้องการของผู้พัก

–          พื้นที่สำหรับการเก็บของน้อยเกินไป

Bauhaus  เป็นสถาบันการศึกษาทางศิลปะในยุคโมเดิร์นที่มีชื่อเสียง ซึ่งรวบรวมศิลปะแขนงต่างๆมาอยู่รวมกัน ทำให้ตัวอาคารถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ประกอบไปด้วย  อาคารเรียน  ห้องปฏิบัติงานรวมไปถึงห้องพักนักศึกษา และบ้านพักอาจารย์  โดยมีแนวความคิดในการสร้างสรรค์ที่ว่างเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางความรู้และเอื้อต่อการสร้างสรรค์ศิลปะ  ทั้งเรื่องของเส้นทางการสัญจรและการวางผังบริเวณ

ส่วนห้องพัก มีส่วนสำหรับทำงานศิลปะและกิจกรรมที่ถูกออกแบบไว้เพื่อรองรับการใช้งานของผู้พักอาศัยต่างหาก ซึ่งใช้สำหรับ การปั้น การเพ้นท์ การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีที่สำหรับพบปะกันของนักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนความรู้และพูดคุยกันเกิดเป็นสังคมการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน  ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับนักศึกษาที่ศึกษาในวิชาแขนงนี้

ข้อดี

–          อยู่ในสถาบันการศึกษาทำให้ไปเรียนสะดวก

–          มีการรออกแบบให้มีพื้นที่การทำงานเนื่องจากเป็นหอพักที่อยู่ในโรงเรียนศิลปะ

–          ใช้วัสดุที่เรียบง่ายและอยู่นายการผลิตของอุตสาหกรรม

ข้อเสีย

-ไม่มีห้องน้ำในตัว ทำให้ต้องเดินไปใช้ห้องน้ำรวม

-ระเบียงภายนอกของแต่ละห้องมีความไม่ปลอดภัย เนื่องจากเป็นการหล่อพื้นยื่นออกมาเป็น slope น้อยๆ เพื่อระบายน้ำ ไม่เหมาะแก่การเดินออกมาใช้งาน

ข้อมูลกายภาพ

ข้อมูลที่ตั้งโครงการ

ที่ตั้งโครงการ ขนาด 19,110 ตารางเมตร ติด ถนน ลาดกระบังกว้าง 27เมตร ปากซอยเฉลิมกรุง ตรงข้ามกับสวนพระนคร ตลาดนัดเดิม ด้านหลังติดกับคลองประเวศบุรีรมย์กว้าง 47เมตร

ทิศเหนือ ติด คลองประเวศบุรีรมย์ กว้าง 47 เมตร

ทิศใต้ ติดถนนลาดกระบัง กว้าง 27 เมตร

ตรงข้ามกับสวนพระนคร

ทิศตะวันออก ติดกับซอยทิพ วารี กว้าง แปดเมตร ถัดถากซอยทิพย์

เป็นหอพัก สูง5ชั้น

ทิศตะวันตก ติดกับหอพัก FBT และ  ธนาคารออมสิน

ห่างจากที่ตั้งโครงการ30เมตร เป็นศูนย์การค้า Top supper market

30เมตรจากที่ตั้งโครงการ

  1. เสาไฟฟ้า   มีจุดที่อยู่หน้า site จำนวน 5 ต้น  และเรียงรายไปตลอดทางเดิน

โดยมีหม้อแปลง อยู่หน้า ธนาคาร ออมสิน และหน้าซอยพิทย์อารีย์

2        .ตู้โทรศัพท์สาธารณะ  อยู่หน้าโครงการทั้งหมด 6  ตู้

3        . ทางม้าลาย โดย มีสัญญาณไฟจราจรอยู่ข้างเสาไฟฟ้า

4         ป้ายรถเมล์ อยู่ตรงข้ามที่ตั้งโครงการ หน้าสวนพระนคร

กฎหมายข้อบังคับท้องถิ่น

–                   ต้องมีระยะร่น 2 เมตร ( ถ้าพื้นที่สำหรับการพานิชยกรรมมีขนาดเกิน 200 ต้องมีระยะ ร่นด้านหน้า 6เมตร )

–                   หน้าที่ตั้งโครงการต้องมีความกว้าง 16 เมตร ขึ้นไป

–                   กำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน (FAR) ในอัตราส่วน 6:1

–                   กำหนดให้มีอัตราส่วนที่ว่าง (OSR ) 5%

ดังงนั้นตามข้อกำหนด FAR ที่ตั้งโครงการ ขนาด19,110 ตารางเมตร

สามารถสร้างอาคารพื้นที่ขนาด 114,660 ตารางเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของเขตลาดกระบัง เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม แต่เนื่องจากมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในพื้นที่โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกอบกับการเข้ามาลงทุนของภาคเอกชน มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาประกอบอาชีพรับจ้างรองลงมาได้แก่อาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัวและอื่น ๆ

ลักษณะภูมิอากาศ

เส้นทางการโคจรของดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะอ้อมทางทิศใต้ และ ลมประจำเข้าทาง  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมเข้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะเด่นที่ตั้งโครงการ

  1. ด้านหลังที่ตั้งโครงการ ติดคลองประเวศ  สามารถใช้เป็นที่พักผ่อนผ่อนหย่อนใจได้อย่างดี  ใกล้ศูนย์การค้า ระยะทางพียง  30 เมตร   หน้าโครงการมีป้ายรถเมล์หลายสาย   และไกล้ร้านเครื่องเขียน ที่ห่องอกไปประมาน 80  เมตร
การจราจรและการเข้าถึงโครงการ

 

วิเคราะห์การจราจรและการเข้าถึงโครงการ


แนวความคิดของโครงการ

 

 

แนวคิด วิธีการให้รูปทรง ที่ว่างและสุนทรียภาพ

แนวความคิดรูปทรง  และที่ว่าง

รูปทรงอาคาร เป็น Modern Form จากตัววัสดุ การออกแบบตรงไปตรงมาตามฟังก์ชันการใช้งานการอยู่อาศัยในแนวตั้ง และเป็นไปตามพฤติกรรมของโครงสร้างโดยตรง โดยมีการนำวัสดุคอนกรีตและเหล็ก และเหล็กเป็นองค์ประกอบ เช่น บันได ประตู เตียงนอน และองค์ประกอบภายนอกอื่นๆ

 

ออกแบบที่ว่างส่วนกลางซึ่งเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมต่างๆนอกจากการพักอาศัย  ทั้งการทำงาน  สันทนาการ  และการออกกำลังกาย  เป็น Flow Space ตั้งแต่หน้าโครงการเข้าสู่ส่วนกลางซึ่งแทรกตัวอยู่ในทุกตัวอาคาร พื้นที่ชั้นล่างสุดของหอพักยกพื้นสูงเพื่อใช้เป็นพื้นที่กิจกรรมและพบปะสังสรรค์ ส่วนในสุดแบ่งพื้นที่สำหรับบ้านเช่าสำหรับคนที่ต้องการอยู่เป็นหมู่คณะ ส่วนหน้าโครงการเพื่ความสะดวกของผู้อยู่อาศัย จึงเป็นส่วนของร้านอาหารและร้านค้าเพื่อให้ผู้คนภายนอกสามารถเข้ามาใช้งานและดึงดูดผู้คนเข้ามาชมนิทรรศการในส่วนจัดแสดงขนาดเล็กอีกด้วย

 

 

 

แนวคิดทางสุนทรียภาพในการอยู่อาศัย

โดยลักษณะการอยู่อาศัยรวมของนักศึกษาศิลปะและการออกแบบ  ค่อนข้างจะมีอิสระและไม่ต้องการกฎเกณฑ์  สุนทรียภาพทางการอยู่อาศัยเกิดจากกิจกรรม  และสภาพแวดล้อมโดยรอบโครงการ  ทั้งส่วนพื้นที่สีเขียว  ลานกิจกรรม  การสังสรรค์และการพบปะแลกเปลี่ยน  โดยสุนทรียภาพที่ดึงเอาผู้คนที่แยกตัวอยู่ในที่ของตนเองในแต่ละวันและดำเนินชีวิตไปตามวงจรในวันหนึ่งๆจะถูกคั้นด้วยที่ว่างที่ ”คนต้องเจอกัน”   และ ทางสำหรับพบปะกันซึ่งกลายเป็นสว่นหนึ่งในการดำเนินชีวิต  และการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเป็นกันเอง เป็นสุนทรียภาพในการทำงานอย่างหนึ่ง

 

 

“การออกแบบที่พักอาศัยที่เชื่อมต่อกิจกรรมสำหรับนักศึกษาศิลปะและการออกแบบ

ให้เกิดที่ว่างที่เอื้อต่อการทำงาน และสุนทรียภาพในการอยู่อาศัย”

 

ภาพจินตนาการขององค์ประกอปต่างๆในโครงการ

 

 

 

 

 

ข้อมูลเชิงเทคนิค ปัจจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

 

ทฤษฎีการออกแบบที่เกี่ยวข้อง

  1. การออกแบบที่พักอาศัย ประเภท หอพัก อพารทเมนต์
  2. การออกแบบพื้นที่สำหรับทำงานศิลปะและการออกแบบ

และส่วนสนับสนุนส่วนพักอาศัย

  1. การออกแบบส่วนสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้อง
    1. สถานที่จัดแสดงงานขนาดเล็ก
    2. ร้านอาหาร – ร้านค้า
    3. ลานเอนกประสงค์  สันทนาการ

ในกรณีโครงการหอพักจะมีการนำเอาลักษณะการวางอาคารแบบ Linear ซึ่งมีข้อดีคือประหยัดพื้นที่ในโครงการและสามารถแบ่งพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมอื่นได้ แต่ข้อเสียคือมุมมองของอาคารแต่ละอาคารที่จะมองเห็นอาคารอื่นในโรงการในระดับสายตา จึงต้องมีการกำหนดระยะสบายทางสายตาระหว่างอาคารตามความเหมาะสมแนะนำพื้นที่นั่นไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป

 

โดยทั้งสองลักษณะการจัดวางมีการแทรกพื้นที่กิจกรรมสู่แต่ละชั้นและพยายามทำตัวอาคารให้โปร่งโล่งและไม่ปรับอากาศ  โดยตัวเลือกที่สองสามารถสร้างพื้นที่พักอาศัยได้มากกว่าจึงน่าสนใจมากกว่าในเชิงการลงทุน

การออกแบบองค์ประกอบในตัวอาคารพักอาศัย

  1.  ส่วนพักอาศัย

สำหรับส่วนพักอาศัยสำหรับนักศึกษาที่เรียนศิลปะและการการออกแบบ มีพื้นที่การใช้งานที่มีลักษณะพิเศษในการทำงาน   โดยต้องการพื้นที่มากกว่าห้องพักปกติเพื่อรองรับกิจกรรมและพื้นที่การทำงาน

2 . การออกแบบพื้นที่การทำงานศิลปะและการออกแบบ( ในส่วนพักอาศัย )

ขนาดห้อง 24 ตร.ม.  มีพื้นที่สำหรับวางโต๊ะเขียนแบบขนาด A0 หรือเฟรมผ้าใบขนาด 1.20 – 2.00 ได้โดยไม่ทำให้อึดอัดจนเกินไป  โดยมีการแยกพื้นที่พักผ่อน split level เพื่อให้มีพื้นที่ทำงานมากขึ้น

ส่วนสนุบสนุนส่วนพักอาศัย

  1. การออกแบบส่วนสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้อง
    1. สถานที่จัดแสดงงานขนาดเล็ก 150 ตารางเมตร  ระบบผนังก่อติดตั้งถาวรครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งเป็นระบบติดตั้งชั่วคราวเพื่อสามารถยืดหยุ่นตามลักษณะการติดตั้งงานที่แตกต่างกัน ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม งานสถาปัตยกรราม งานผลิตภัณฑ์  หรือสื่อผสมมัลติมีเดีย  โดยอาจสามารถปรับเปลี่ยนเป็นส่วนพบปะสังสรรค์และงานกิจกรรมอื่นๆได้อีกด้วย

 

ปัจจัยเทคนิคทางโครงสร้าง

  1. ระบบโครงสร้างเสาเข็มและฐานราก

เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรอบบริเวณการก่อสร้างใกล้ชิดกับอาคารเดิม  และอาคารโดยรอบเป็นหอพักซึ่งมีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้กำหนดฐานรากของอาคารเป็นฐานรากเดี่ยววางบนเสาเข็มเจาะ

  1. โครงสร้างเสา – คาน

สภาพของอาคารมีพื้นที่ใช้งานส่วนพักอาศัยที่มีการแบ่งพื้นที่แน่นอนโดยมีระยะเสา 4.00 เมตร และส่วนบ้านพักมีระยะเสา 5.00 จึงกำหนดให้โครงสร้างเสาและคานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก

  1. โครงสร้างพื้น

เนื่องจากต้องการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างและร่นระยะเวลาในการก่อสร้างจึงเลือกใช้พื้นสำเร็จรูปติดตั้งในโครงการ

  1. โครงสร้างผนัง

เลือกวัสดุอิฐมวลเบา เพื่อการก่อสร้างที่ทำได้รวดเร็วและป้องกันความร้อนจากภายนอกอาคารได้ดีกว่า  อิฐบล็อกและอิฐมอญ

  1. วัสดุหลังคา

ระบบโครงสร้างเหล็กและวัสดุมุงคือกระเบื่องซีแพคโมเนีย โดยเป็นการมุงเพื่อลดความร้อนจากภายนอกอาคารสู่ห้องพักอาศัยชั้นบนสุด

การประเมินน้ำหนักบรรทุก,การถ่ายน้ำหนักบรรทุกและการวิเคราะห์โครงสร้าง

                        การประเมินน้ำหนักบรรทุกและทฤษฎีการถ่ายน้ำหนักบรรทุก 

จากข้อมูลการใช้สอยพื้นที่ของอาคารสามารถประเมินน้ำหนักบรรทุกและแรงต่างๆที่จะกระทำต่อโครงสร้างอาคารตามทฤษฎี,ข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ  ดังนี้

  1. มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
  2. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
  3. กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
  4. มาตรฐานต่างชาติที่กว้างขวางและหน้าเชื่อถือ  ได้แก่

 

–                   ACI  ( American Concrete Institute )

–                   UBL  ( Uniform Building Code )

–                   ASTM  ( American Society Of Testing Material )

–                   TISI  ( THAI Industrial  Standard Institute )

ทฤษฎีการวิเคราะห์โครงสร้าง

หลังจากที่ได้ประเมินน้ำหนักบรรทุกและถ่ายน้ำหนักเข้าสู่ระบบโครงสร้างของอาคารตามทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว  จะได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อหาพฤติกรรมต้านแรงกระทำและแรงต้านชิ้นส่วนภายในโครงสร้างเพื่อใช้ในการกำหนดคุณสมบัติของชิ้นส่วนโครงสร้าง  โดย  ทฤษฎีแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ  ระบบสองมิติ  และสามมิติตามสมควร  จะทำให้เห็นพฤติกรรมการต้านแรงของโครงสร้างได้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงได้มากที่สุด

 

แนวความคิดทางด้านการออกแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล

วิศวกรรมสุขาภิบาลสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ระบบน้ำประปา
  2. ระบบระบายน้ำเสีย
  3. ระบบน้ำฝนและน้ำทิ้ง
  4. ระบบบำบัดน้ำเสีย
  5. ระบบดับเพลิง
  6. 1.     ระบบน้ำประปา

ระบบน้ำประปาที่ใช้ในโครงการจะออกแบบระบบจ่ายน้ำในอาคารภายในอาคารสูง 5 ชั้น จะเป็นระบบ Down Feed System ซึ่งระบบดังกล่าวนี้จะประกอบด้วย ถังเก็บน้ำใต้ดิน ถังเก็บน้ำดาดฟ้า เครื่องสูบน้ำอัตโนมัติ และมีระบบกรองน้ำสำหรับใช้งาน

–                   น้ำใช้อัตราการใช้เฉลี่ย 75 – 100 ลิตร/คน /วัน

–                   น้ำใช้เพื่อการดับเพลิง  สามารถใช้ได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที

–                   น้ำรดต้นไม้ อัตราการใช้น้ำ 1.5 m3/ไร่/วัน

–                   อัตราการสำรองน้ำใช้เป็นเวลา 1 วัน

  1. 2.      ระบบระบายน้ำเสีย

จะเป็นการรวบรวทน้ำเสียที่เกิดจากการใช้สอยในอาคารประกอบด้วย  ท่อระบายน้ำโสโครก  ท่อระบายน้ำเสีย   และท่อระบายอากาศ  จากห้องน้ำ floor drain  และท่อระบายน้ำเสียอื่นๆ  เพื่อส่งเข้าไประบบบำบัดน้ำเสียต่อไป

เกณฑ์กำหนดมนการออกแบบ

  1. ความเร็วของการไหล 0.8 – 2.4 เมตร/วินาที
  2. มี trap เพื่อดักกลิ่นรบกวน  ชนิดเปียก
  3. อัตราน้ำเสียห้องน้ำห้องส้วม ใช้ 85 % ของอัตราการใช้น้ำประปา
  4. 3.      ระบบระบายน้ำฝนและน้ำทิ้ง

จะระบายลงสู่บ่อพักของท่อระบายน้ำฝนและน้ำทิ้งเพื่อระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะดดยจะมีการออกแบบจุดสูบน้ำทิ้งเพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการระบายน้ำฝนและน้ำท่วมพื้นที่ได้

เกณฑ์กำหนดการออกแบบ

  1. Mean Rainfall 1,260 mm/Year
  2. Rainfall Greatest ใน 24 ชั่วโมง 124 mm.
  3. Rainfall Intensity  10 Yr. Round mm./hr
  4. ความเข้มฝนที่ใช้ในการคำนวณออกแบบไม่น้อยกว่า 150 มม./ ชั่วโมง
  5. ความสามารถในการระบายน้ำฝนออกจากพื้นที่ 2-5 ม3/ นาที
  6. ท่อระบายอากาศเป็นท่อ PVC
  7. มีบ่อพักทุกระยะไม่เกิน 10  เมตร

 

 

  1. 4.      ระบบบำบัดน้ำเสีย

น้ำเสียที่เกิดจากห้องน้ำและห้องส้วมจะผ่านการบำบัดตามาตรฐานน้ำทิ้ง และจัดระบบเก็บรวบรวมน้ำผ่านการบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

การออกแบบระบบน้ำเสียของอาคารตามชั้นต่าง ๆ ก่อนที่จะระบายน้ำเสียส่งไปบำบัด

  1. ความเร็วในการไหล 0.8 – 2.4 เมตร/วินาที
  2. มี trap เพื่อดักกลิ่น ชนิดเปียก
  3. 5.      ระบบดับเพลิง

ในการออกแบบรบบดับเพลิงแบ่งออกเป็นระบบต่างๆ ดังนี้

  1. ระบบดับเพลิงด้วยน้ำชนิดสายสูบ กำหนดไว้ใช้ในพื้นที่สาธารณะทั่วๆ ไปในทุกๆ ชั้นของอาคาร โดยจะติดตั้งตู้สายสูบดับเพลิงพร้อมอุปกรณืเบื้องต้น  FHC และอุปกรณ์ผจญเพลิงเบื้องต้น
  2. ระบบหัวฉีดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Pendant sprinkler) กำหนดไว้ในส่วนห้องพัก ยกเว้นในส่วนห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องเครื่อง ห้องเอกสารสำคัญ
  3. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ จะกำหนดติดตั้งไว้ในส่วนโถงทางเดิน

แนวความคิดในการออกแบบด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและสื่อสาร

หลักเกณฑ์ในกรออกแบบ

  1. ออกแบบเตรียมช่องทางเดินของระบบไฟฟ้า  โดยแต่ละระบบมีรายละเอียดดังนี้
    1. 1.      ระบบไฟฟ้า

ไฟฟ้าแรงสูง  12 กิโลโวลต์ 3 เฟส 3 สาย  ความถี่ 50Hz

ไฟฟ้าแรงต่ำ  416 /240  โวลต์  3 เฟส 4 สาย  ความถี่ 5o Hz

  1. 2.      ระบบแสงสว่าง

ระดับความเข้ม  ของแสงสว่างในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IES  หรือ CIE

และพระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม  ซึ่งว่าด้วยกำหนดมาตรฐาน  หลักเกณฑ์  และวิธีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุม

แนวความคิดในการออกแบบงานระบบไฟฟ้าและการสื่อสาร

  1. ระบบไฟฟ้าแรงสูงจะพิจารณาออกแบบให้รับไฟฟ้าแรงสูง ที่แรงดัน 12 KV  9ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง
  2. หม้อแปลงไฟฟ้า  จะใช้หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีการค่าการสูญเสียต่ำชนิดจุ่มในน้ำมัน
  3. ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ  จะเป็นการเดินสายไฟฟ้าแรงต่ำเข้าตู้ควบคุมเมนไฟฟ้า
  4. ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน  ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลล์ ซึ่งเป็นชนิดที่ทานโดยอัตโนมัติ
  5. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง  มีเต้ารับไฟฟ้า  การออกแบบระบบแสงสว่างให้ยึดถือตามมาตรฐานสากลและคำนึงถึงการประหยัดพลังงานเป็นหลัก  ผู้ออกแบบจะเน้นพิจารณาและคำนวณความต้องการพลังงานในด้านแสงสว่างโดยจะออกแบบให้ใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพสูงและยังประหยัดค่าไฟอีกด้วย

การออกแบบเต้ารับไฟฟ้า  มาตรฐานการออกแบบ จะให้ตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานของเต้ารับไฟฟ้า  เพื่อความปลอดภัย  การออกแบบเต้ารับกำหนดให้ให้ใช้เต้ารับไฟฟ้าแบบมีขาดิน

  1. ระบบป้องกันฟ้าผ่า จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้  ตัวล่อฟ้า  สายล่อฟ้า  และหลักสายดิน
  2. การออกแบบระบบสายดิน  ระบบ Ground ของแต่ละระบบจะออกแบบให้แยกออกจากกันอย่างอิสระซึ่งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อทรัพสินท์และอุปกรณืระบบสายดิน สำหรับอาคารสมัยใหม่จะต้องต่ำพอคือประมาณ 1 หรือ 2 โอห์ม  ซึ่งถ้าหากจำเป็นจะไม่เกิดกว่า 5 โอห์ม
  3. ระบบโทรศัพท์    ระมีการติดตั้งตู่สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติและแผงกระจายสายรวมที่ชั้นพื้นดินภายในห้องควบคุมอาคาร และ ติดตั้ง กล่องต่อสายโทรศัพท์ไว้แต่ละชั้นของอาคารเพื่อกระจายสายไปยังเต้ารับโทรศัพท์ในบริเวณต่างๆ

 

  1. 9.      ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 

หลักการจะมีแผงควบคุมรวม  โดยมีแผงควบคุมประกอบเป็บวงจรอิเล็คโทรนิคซึ่งควบคุมการทำงานด้วย  Microprocessor บนแผงควบคุมรวมจะแสดงตำแหน่งเพลิงไหม่ด้วยหลอดไฟสัญญาณ โดยมีอุปกรณ์ร่วมดังนี้

–                   Heat  Detector

–                   Smoke Detector

–                   สวิตซ์แจ้งเตือนภัยเพลิงไหม้

–                   อุปกรณืส่งเสียงสัญญาณ

10. ระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์  เป็นระบบไร้สายติดตั้งตามแต่ละชั้นของอาคารและพื้นที่กิจกรรมรวม

11. ระบบควบคุมการเข้าออก  เป็นการควบคุมโดยการใช้  Key Card

12. ระบบโทรทัศน์วงจรปิด จะถูกติดตั้งเพื่อคว่มปลอดภัยในบริเวณพื้นที่สำคัญ เช่น  บริเวณทางเข้าออกของอาคาร  และทางเดินต่างๆ  เป็ณต้น

ส่วนประกอบพื้นฐานของอุปกรณ์ มี  3 ส่วน  ได้แก่

แผงควบคุม  มอนิเตอร์  และกล้อง

 

การประมาณราคา

จากตารางราคาประเมินค่าก่อสร้าง นำมาประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น

ประเมินรายรับ (ต่อเดือน)

พื้นที่ให้เช่า

– บ้านเช่า  12 หลัง            เดือนละ 10,000 บาท       120,000    บาท

– หอพัก  416  ห้อง           เดือนละ  4,500   บาท      1,872,000  บาท

– ร้านค้า 4 ร้าน                 เดือนละ 20,000 บาท       80,000       บาท

รวม          2,072,000      บาท

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของโครงการ

        จุดคุ้มทุน = เงินลงทุนเริ่มแรก / รายได้หัก ด้วยค่าใช้จ่ายต่อเดือนหรือต่อปี

232,640,000 / 2,072,000

=   112  เดือน  หรือ  9 ปี 4 เดือน

  • ผลสรุปการดำเนินการศึกษา
  • เนื่องจากโครงการจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพื่อตอบสนองปัญหาการใช้สอยพื้นที่พักอาสัยของนักศึกษา จึงทำให้เกิดพื้นที่ส่วนกลางที่มากกว่าอาคารพักอาศัยทั่วๆ ไป  จึงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น รายรับจึงได้ไม่มากเท่าที่ควร และเกิดจุดคุ้มทุนช้า   ดังนั้นเพื่อความคุ้มทุนของโครงการ ถ้าเกิดขึ้นจริงในอนาคต ต้องมีการปรับให้มีการเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนกลางจากผู้พักอาศัย เช่น ค่าเช่าสนามบาสเกตบอล ค่าส่วนกลางสาธารณะเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มรายรับให้กับโครงการ 
ผู้จัดทำโครงการ 

นายธนช เหลาหา 51020026

นางสาวพชร บัวแสง 51020046

นางสาวพชร สิงห์เรือง 51020047

นางสาวพัชรดา อินแปลง 51020049

นางสาวพุดซ้อน พรหมกิ่งแก้ว 51020054

นายมนัส ศรีพิลา 51020059

นางสาวศุภางค์ ยุทธาคนี 51020073

นายสุธีมา ศรีสุข 51020080

นางสาวอรุณศรี ปั้นมา 51020087

Create a free website or blog at WordPress.com.